วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

บาร์โค้ด หมายถึง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด หมายถึง เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง หมายถึง สัญลักษณ์ (Symbol) ที่อยู่ในรูปของแท่ง โดยจะใช้เครื่องอ่าน ที่เรียนว่า Scanner (เครื่องยิงบาร์โค้ด) เป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปของ รหัสแท่ง เป็นข้อมูล ที่เป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน หรืออีกความหมายนึง บาร์โค้ด (barcode) คือ เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ได้ผลดี ในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย, การตรวจสอบยอดการขาย และสินค้าคงคลัง เราสามารถที่จะอ่านรหัสบาร์โค้ดได้ โดยใช้สแกนเนอร์หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการอ่านด้วยสายตา บางครั้งเราจะเห็นเครื่องเหล่านี้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางที่เราก็อาจจะคาดไม่ถึง ว่าจะนำไปใช้ได้ ประเภทของบาร์โค้ด (Barcode) 1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้ 2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
  • 2.1 ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชียและแปซิฟิก,ออสเตรเลีย,ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย
  • 2.2 ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
ประโยชน์ของการติดบาร์โค้ดมาตรฐานสากลกับตัวสินค้า การนำบาร์โค้ดมาตรฐานสากลมาใช้ในธุรกิจการค้า จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
  • 1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อขายสินค้า จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
  • 2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
  • 3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุบาร์โค้ดแสดงข้อมูลสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิต คำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพ สินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการแสดงข้อมูลสินค้า
  • 4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ การมีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก
ตัวอย่างบาร์โค้ตที่ออกแบบอย่างง่าย (Simple Design barcode) wertwertdfgdfgs บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด หมายถึง

การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ QR Code - ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการติดบาร์โค้ดบนชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลของอะไหล่ชิ้นนั้น เช่น ชื่อรุ่น รหัสอะไหล่ และประเภท ของอะไหล่ เป็นต้น - ด้านกระบวนการผลิตสินค้ามีการติดบาร์โค้ด 2 มิติบนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (รูปที่ 8) เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของแผงวงจรนั้น  
  - ด้านการขนส่งสินค้า มีการพิม์บาร์โค้ดบนใบส่งสินค้า (รูปที่ 9) เพื่อใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขนส่ง รหัสของสินค้า และจำนวนสินค้าเป็นต้น
- ด้านการจัดสต๊อกสินค้า (รูปที่ 10) เพื่อตรวจสอบชื่อรุ่นของสินค้า รหัสสินค้า และจำนวนของสินค้าคงเหลือ
- ด้านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ หรือใบปริว เป็นต้น (รูปที่ 11,12) มีการนำบาร์โค้ดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน สื่อโฆษณา เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจในตัวสินค้า และสามารถใช้มือถือที่มีกล้องอ่านบาร์โค้ดเพื่อเชื่อมต่อลิงก์เข้าสู่เว็บไซต์ได้ มีการนำ ไปใช้ในประเทศจีน เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น [5]
- ด้านสินค้าทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (รูปที่ 13) เพื่อจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์
- ด้านปศุสัตว์ มีการนำบาร์โค้ดมาติดลงบนสายรัดที่หางของสัตว์เลี้ยง (รูปที่ 14) เพื่อใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสัตว์ เช่น เพศ สายพันธุ์ และอายุ เป็นต้น  
  - ด้านการแพทย์ มีการนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนสายรัดข้อมือผู้ป่วย (รูปที่ 15) เพื่อใช้ในการเก็บประวัติข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น ชื่อ ที่อยู่ อาการป่วย โรคประจำตัว และชนิดของยาที่แพ้ เป็นต้น และการนำบาร์โค้ดมาติดลงบนหลอดทดลองที่ใช้ในการทดสอบเลือด (รูปที่ 16)

- การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนนามบัตร (รูปที่ 17,18) เพื่อนำบาร์โค้ดมาใช้ในการบันทึกข้อมูลติดต่อลงมือถือโดยตรง มีการนำไปใช้ในประเทศ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา [6]  
  - การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนบัตรเครดิต (รูปที่ 19) เพื่อจัดเก็บรหัสบัตรเครดิต รหัสผ่าน และ เว็บไซต์ผู้ให้บริการบัตรเครดิต [7]
- การนำมาใช้ในบัตรผ่านทางในประเทศเกาหลี ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ Data Matrix - การ์นำบาร์โค้ดใช้ติดกับแผงวงจรที่มีขนาดพื้นที่ที่จำกัด (รูปที่ 20)
- การนำบาร์โค้ดใช้ติดชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก [8] เพื่อแสดงรายละเอียดของชิ้นส่วนนั้น (รูปที่ 21)  

- การนำมาใช้ในบัตรเครดิต [9] ขั้นตอนการนำไปใช้ (รูปที่ 22) โดยทำการติดต่อกับธนาคาร เพื่อขอบาร์โค้ดมาใช้แทนบัตรเครดิต วิธีการใช้ คือ เมื่อต้องการซื้อสินค้าก็นำบาร์โค้ดไปแสกนเพื่อหักยอดเงินออกจากบัตรเครดิต และทำการพิมพ์ใบเสร็จออกมา  
  - การนำมาใช้ในการจองตั๋ว [10] ขั้นตอนการนำไปใช้ (รูปที่ 23) โดยเริ่มจากการสั่งจองทางโทรศัพท์หรือทางอินเตอร์เน็ต เมื่อทำการสั่งจอง เสร็จแล้วจะได้รับบาร์โค้ดจาก MMS สำหรับนำไปสแกนหน้างาน เพื่อทำการพิมพ์บัตiเข้าร่วมงานที่ได้ทำการจองไว้

ตัวอย่างการใช้งานบาร์โค้ดแบบ PDF417 - การนำมาใช้กับบัตรประชาชน ในประเทศบาร์เรน์ และการ์ต้า - การนำบาร์โค้ดมาพิมพ์ลงบนใบอนุญาตขับรถ (รูปที่ 24, 25, 26) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล และประวัติต่างๆ ของผู้ขับขี่ มีการนำไปใช้ใน ประเทศแคนาดา ประเทศในโซนอเมริกาใต้ื [11] และสหรัฐอเมริกา

- การนำบาร์โค้ดไปใช้กับบัตรประกันสังคม (รูปที่ 27) เพื่อใช้ในการเก็บประวัติข้อมูลต่างๆ เช่นการเข้าใช้บริการ และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ถือบัตร เป็นต้น [12]  
- ด้านการขนส่งสินค้า (รูปที่ 28) เป็นการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยนำบาร์โค้ดไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลการขนส่งสินค้า จำน จำนวนสินค้า และข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น

Glass โปรแกรมช่วยอ่านค่าบาร์ดค้ดบนโทรศัพท์มือถือ โปรแกรม Glass เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสแกนบาร์โค้ดเพื่อทำการอ่านข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ด 2 มิติแบบ QR Code และ แบบ Data Matrix โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่จะติดตั้งนั้นต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานคือ มีกล้องดิจิตอลในตัวเครื่อง มีระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยนซีรีย์ 60 ขึ้นไป และ สามารถใช้งาน GPS, WAP, HTTP ได้ หมายเหตุ ตัวอย่างยี่ห้อและรุ่นโทรศัพท์ทึ่สามารถรองรับการใช้งานโปรแกรมได้ - Nokia 3650, 3660, 6600, 6630, 6670, 6680, 6681, 7610, 7650 - Seimens SX1 (โทรศัพทบางเครื่องอาจจะไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ เนื่องจาก Firmware ของเครื่องนั้นอาจจะไม่สนับสนุนโปรแกรม) วิธีการติดตั้งโปรแกรม 1. เริ่มต้นโดยการดาวน์โหลดโปรแกรม Glass.sis ที่ http://activeprint.org/download.html 2. จากนั้นโอนไฟล์ Glass.sis ที่ได้มาไปยังโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัย Bluetooth หรือ Card reader เป็นต้น 3. เปิดไฟล์ Glass.sis เพื่อทำการติดตั้ง โดยเริ่มต้นการติดตั้งจะปรากฏข้อความว่า "Install Glass?" เลือก YES เพื่อยืนยันการติดตั้ง  
  4. หลังจากนั้นจะปรากฏข้อความเพื่อถามว่าต้องการจัดเก็บโปรแกรมลงในหน่วยความจำของเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือในเมโมรีการ์ด ดังรูปที่ 30
5. เมื่อทำการเลือกเสร็จแล้วจะปรากฏข้อความแสดงเงื่อนไขและข้อตกลงการใช้โปรแกรม ดังรูปที่ 31 ให้เลือก OK แล้วโปรแกรมจะเริ่มทำการ ติดตั้ง
6. หลังการติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องทำการดาวน์โหลดคีย์เพื่อขออนุญาตใช้โปรแกรม โดยให้เลือก Yes แล้วโปรแกรมจะทำการติดต่อกับ เซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 33  
7. เมื่อทำการติดตั้งกับเซิร์ฟเวอร์และดาวน์โหลดคีย์เสร็จแล้ว จะแสดงข้อความขึ้นมาถามว่าต้องการติดตั้งคีย์ (Glass Key) หรือไม่ ให้ทำการ เลือก Yes เพื่อทำการติดตั้ง    
8. หลังจากทำการติดตั้งคีย์เสร็จแล้วจะปรากฏข้อความขึ้นว่า "Key Successfully installed. You now need to restart Glass." ให้กด OK ดังรูป ที่ 36 แล้วปิดโปรแกรม Glass ในขั้นตอนนี้โปรแกรม Galss ถูกติดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว    
9. เริ่มการใช้งานโปรแกรม ให้เปิดโปรแกรม Glass ขึ้นมาแล้วนำกล้องบนโทรศัพท์มือถือไปสแกนที่บาร์โค้ดที่ต้องการอ่าน จับภาพให้นิ่งจนมีข้อ ความขึ้นมาว่า "Click to activate"    
10. หลังจากนั้นเลือก Option โดยที่ถ้าต้องการอ่านข้อมูลบนบาร์โค้ด ให้เลือก Code info แต่ถ้าในกรณีที่บาร์โค้ดนั้นเก็บข้อมูลเป็นชื่อเว็บไซต์ และต้องการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ดังกล่าวให้เลือก Activate หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เก็บไว้ในบาร์โค็ด    
สรุป ปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการนำบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบาร์โค็ด 2 มิติ มีคุณสมบัติเด่นแตกต่างจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ ในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบรรจุข้อมูลมาก บาร์โค้ดที่มีขนาดเล็ก สามารถประมวลผลได้หลายประเภท และความสามารถ ในการกู้คืนข้อมูลที่เสียหายได้ การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดแบบ 2 มิติไปใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะประเภทของงาน เช่น ถ้าต้องการนำบาร์โค้ด 2 มิติไปใช้กับงานที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องการบาร์โค้ดมีขนาดเล็ก ควรเลือกใช้บาร์โค้ดแบบ Data Matrix หรือถ้าต้องการนำไปใช้กับลักษณะงานที่ต้องการความละเอียดมากควรเลือกใช้บาร์โค้ดแบบ PDF417 เป็นต้น การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ มาใช้ในท
วีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียจะใช้บาร์โค้ดแบบ PDF417 และ Data Matrix เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ในการจองบัตรออนไลน์ ใช้กับใบอนุญาตขับรถ และใช้ติดตามแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนทวีปเอเชียจะใช้บาร์โค้ดแบบ QR Code ซึ่งเป็นบาร์โค้ดที่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ อย่างที่เห็นได้ชัด ในด้านสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ง่ายเพียงนำกล้องบนมือถือไปอ่านที่บาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ มือถือก็จะทำการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย GPRS เข้าสู่หน้าบริการที่ต้องการโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำชื่อเว็บไซต์ ทำให้เข้าปใช้บริการได้อย่างสะดวก   แหล่งข้อมูลอ้างอิง [1] Sizing App for 2D Barcode SymWP.indd , 02, 06; 2006.> [2] MaxiCode Symbol Barcode FAQ and Tutorial , 02, 06; 2006. [3] Data Matrix , 02, 06; 2006. [4] About QR code , 02, 06; 2006. [5] iPod nano , 02, 06; 2006. [6] i-mode Business Strategy: [7] DigiSonic , 02, 23; 2006. [8] Sequential Labels & Forms - DataMatrix ECC 200 Labels - Symbology, Inc. , 02, 23; 2006 [9] Mobile Payment , 02, 16; 2006. [10] Mobile Ticketing , 02, 16; 2006. [11] South African Drivers License Gets Facelift with PDF417 , 02, 16; 2006. [12] Card Scanning , 02, 23; 2006. [13 ] ชัยกาล พิทยาเกษม พิรัมพา เกาะลอย ณํฐพงษ์ แสงเลิศศิลปชัย และกิติศักดิ์ จิรวรรณกุล. แนะนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด, ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทยม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน

การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ
บาร์โค้ด 2 มิติ PDF417 MaxiCode Data Matrix QR Code
ผู้พัฒนา (ประเทศ) Symbol Technologies (สหรัฐอเมริกา) Oniplanar (สหรัฐอเมริกา) RVSI Acuity CiMatrix DENSO
ประเภทบาร์โค้ด แบบสแต๊ก แบบเมตริกซ์ แบบเมตริกซ์ แบบเมตริกซ์
ขนาดความจุข้อมูล ตัวเลข 2, 710 138 3,116 7,089
ตัวอักษร 1,850 93 2,355 4,296
เลขฐานสอง 1,1018 - 1,556 2,953
ตัวอักษรญี่ปุ่น 554 - 778 1,817
ลักษณะที่สำคัญ - บรรจุข้อมูลได้มาก - มีความเร็วในการอ่านสูง - บาร์โค้ดมีขนาดเล็ก - บาร์โค้ดมีขนาดเล็ก - มีความเร็วในการอ่านสูง - บรรจุข้อมูลได้มาก
มาตรฐานที่ได้รับ -ISO/IEC 15438 - AIM USS-PDF417 -ISO/IEC 16023 -ANSI/AIM BC10-ISS-MaxiCode - SIO/IEC 16022 ANSI/AIM BC11-ISS-Data Maxtix - SIO/IEC 18004 - JIS X 0510 JEUDA-55 - AIM ITS/97/001 ISS-QR Code
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร การเปรียบเทียบบาร์โค้ด 2 มิติชนิดต่างๆ

บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร   2.3 บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code)

QR Code เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบเมตริกซ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Nippon Denso ประเทศญี่ปุ่นในปี 2537 [4] สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 18004, JIS X 0510, JEIDA-55 และ AIM ITS/97/001 ISS-QR Code ลักษณะของบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีโมดูลข้อมูล 21x21 ถึง 177x177 โมดูล สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 7,089 ตัวเลขหรือ 4,296 ตัวอักษร ข้อมูลเลขฐานสอง 2,953 ไบต์ และตัวอักษรญี่ป่น 1,817 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของ QR Code อยู่ที่มุมทั้งสามของบาร์โค้ด คือ มุมซ้ายบน มุมซ้ายล่าง และมุมขวาบน ดังรูปที่ 7 QR Code ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่ต้องการบรรจุข้อมูลจำนวนมากลงในบาร์โค้ดและต้องการอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ดอย่างรวดเร็ว  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค็ดแบบ QR Code (Quick Response Code)

บาร์โค้ดแบบ Data Matrix เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบ Data Matrix เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     2. บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์ (Matrix Barcode) บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบสต็กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์ 2.1 บาร์โค้ดแบบ MaxiCode
MaxiCode เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบเมตริกซ์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Oniplanar และนำไปใช้โดยบริษัทขนส่ง UPS (United Parcel Service)ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2530 [2] MaxiCode สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16023 และ ANSI/AIM BC10-ISS-MaxiCode ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1.11 x 1.054 นิ้วส่วนแทนรหัสข้อมูลมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมทั้งหมด 866 โมดูล เรียงตัวกันใน 33 แถวรอบรูปแบบค้นหา ซึ่งรูปแบบค้นหาของ MaxiCode มีลักษณะเป็นวงกลมซ้อนกันสามวงอยู่กลางบาร์โค้ดดังรูปที่ 5 MaxiCode สามารถบรรจุข้อมูลได้ 138 ตัวเลขหรือ 93 ตัวอักษร บาร์โค้ดชนิดนี้ถูกออกแบบให้สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว จึงนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านสูงเป็นส่วนใหญ่ 2.2 บาร์โค้ดแบบ Data Matrix  
  Data Matrix ถูกพัฒนาโดยบริษัท RVSI Acuity CiMatrix ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2532 [3] สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC-11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 8 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลขหรือ 2,355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งขอบซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ดตามรูปที่ 6 บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้อกงการบาร์โค้ดขนาดเล็ก  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบ Data Matrix

บาร์โค้ดแบบสแต๊ก เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ดแบบสแต๊ก เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     บาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode) บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน [1] ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกับบาร์โค้ด 2 มิติ ดังรูปที่ 2 เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data Matrix, และ QR Code

บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. บาร์โค้ดแบบสแต็ก (Stacked Barcode) บาร์โค้ดแบบสแต็กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแถว มีการทำงานโดยอ่านภาพถ่ายบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความก้าวงนี้ทำให้สามารถถอดรหัสจากภาพที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์โค้ดแบบสแต็กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย และอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นบน เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก 1.1 บารโค้ด PDF417 (Portable Data File) PDF417 เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบสแต็ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 2535 โดยบริษัท Symbol Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกาบาร์โค้ดแบบ PDF417 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 15438 และ AIM USS-PDF417 ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนแทนรหัสข้อมูลหรือที่เรียกว่าโมดูลข้อมูล (Data Module) เป็นแถบสีดำและสีขาวเรียงตัวกันหลายๆ แถว แถวแนวตั้งและแนวนอน (รูปที่ 3)ซึ่งประกอบด้วย 3 ถึง 90 แถว และ 1 ถึง 30 คอลัมน์ สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 2,710 ตัวเลข 1,850 ตัวอักษร 1,018 ไบนารี หรือคันจิ 554 ตัวอักษร คำว่า PDF ย่อมาจาก Portable Data File และประกอบไปด้วย 4 แถบ และ 4 ช่องว่างใน 17 โมโดูล จึงทำให้ได้หมายเลข 417 เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย และอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นบน เป็นต้นโดยส่วนใหญ่บาร์โค้ดแบบ PDF417 จะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียด และถูกต้องมากเป็นพิเศษ

ลักษณะของบาร์โค้ด PDF417
จากรูปที่ 4 สามารถอธิบายส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
- Quiet Zone เป็นบริเวณว่างเปล่า ไม่มีการพิมพ์ข้อความใดๆ อยู่โดยรอบบาร์โค้ด ใช้เป็นส่วนกำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดในการอ่านและถอดรหัส - Start pattern ใช้เป็นตัวกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นการอ่านค่าของข้อมูลบาร์โค้ด - Stop pattern ใช้เป็นตัวกำหนดตำแหน่งสิ้นสุดการอ่านของข้อมูลบาร์โค้ด - Left indicator และ Right indicator เป็นส่วนถัดเข้ามาจาก Start pattern ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และ Stop patternทำหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนแถว จำนวนคอลัมน์ และขีดจำกัดความเสียหายของข้อมูลที่ยังทำให้ถอดรหัสบาร์โค้ดได้ - Data Region เป็นส่วนข้อมูลมีบรรจุในบาร์โค้ด
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ดแบบสแต๊ก

บาร์โค้ด 1 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด 1 มิติ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร     เทคโนโลยีบาร์โค้ดเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้า โดยนำบาร์โค้ดมาติดกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส และราคาของสินค้า หรือทางด้านการจัดการสต๊อกสินค้า ช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งนี้การนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายแะเป็นที่นิยมกันมาก ทว่า คุณสมบัติที่มีอยู่ของบาร์โค้ดแบบ 1 มิตินั้น ยังไม่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าที่ควร เช่น การบรรจุข้อมูลได้น้อย และการใช้ฐานข้อมูลในการจัดเก็บ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนาบาร์โค้ด 2 มิติขึ้นมา บาร์โค้ด 1 มิติ (1 Dimension Barcode) บาร์โค้ด 1 มิติมีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร การใช้งานบาร์โค้ดมักใช้ร่วมกับฐานข้อมูลคือเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง บาร์โค้ด 1 มิติมีหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 หรือ ISBN ดังรูปที่ 1 เป็นต้น ซึ่งบาร์โค้ด 1 มิติเหล่านี้สามารถพบได้ตามสินค้าทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า  
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด 1 มิติ